วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

Corsair



สวัสดีครับผมห่างหายจากการเขียนบทความไปนานพอสมควร พอจะเริ่มว่างเลยหยิบแผ่นซีดีการสร้างเรือจำลองของคุณ Clayton A.Feldman เอามาอ่านดู แผ่นซีดีแผ่นนี้ซื้อมานานแล้วครับ แต่เพิ่งจะมีโอกาสมานั่งศึกษาเอาช่วงหลังนี้เอง  คุณเคลตันสอนวิธีการทำเรือจำลองไว้ 3 ลำ เริ่มจากง่ายไปหายาก อ่านแล้วเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างเพราะเป็นภาษาอังกฤษ เลยตัดสินใจลงมือทำดีกว่า เริ่มจากลำแรกที่ง่ายที่สุดก่อนเลยครับ ประเภทเรือจำลองลำนี้ชื่อ Corsair น่าจะเป็นเรือแถบชายฝั่งเพราะดูจากขนาดเรือเป็นเรือลำเล็กๆครับ แต่ถ้าต่อเสร็จแล้วน่าจะสวยงามดีทีเดียว  สามารถนำเรือจำลองลำนี้ตั้งโชว์ได้ไม่อายใคร เริ่มต้นจากหาแผ่นไม้ก่อนครับ  เหมือนเดิมผมใช้ไม้อัดหนา 0.4 ม.ม. 1 แผ่นหลังจากนั้นก็ลงมือเอาแปลนเรือติดลงไป แบบเรือจำลองผมไม่มั่นใจว่าจะนำลง Blog ได้หรือปล่าว เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจก็ส่งอีเมล์มาขอแล้วกันครับ  หลังจากนั้นก็ลงมือเลื่อยครับ เราจะได้ชิ้นส่วนต่างๆตามแบบออกมา





ติดแบบ

เลื่อย

ประกอบ

ประกอบส่วนกระดูกงู
หลังจากนั้นเริ่มประกอบชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน งานชิ้นนี้เริ่มใช้เวลาน้อยลงเพราะทำสองลำในเวลาไล่เลี่ยกัน จึงเกิดความชำนาญพอสมควร  ถ้าทำเป็นอาชีพน่าจะใช้เวลาไม่เกิน 50 -60 ช.ม.ต่อลำ ลองดูขั้นตอนในการประกอบครับใช้ภาพแทนคำอธิบายครับ





















































ในครั้งต่อไปผมจะเริ่มประกอบส่วนของโครงเรือเข้ากับแบบกระดูกงูที่เตรียมไว้ แล้วพบกันครับ

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สมอเรือ ( The anchor )

wood of art ในเรื่อง beginning of model ship บทความต่อไปที่จะกล่าวถึงคือสมอของเรือจำลอง ตามที่ได้อ่านมา ในสมัยก่อนมนุษย์ใช้ก้อนหินทำสมอ แล้วพัฒนามาเรื่อยจนมาถึงปี1780 เริ่มจะมีรูปแบบใกล้เคียงกับสมอที่เราเห็นในปัจจุบัน ในช่วงแรกรูปแบบจะเป็น V-shaped แล้วค่อยๆโค้งในช่วงเวลาต่อมา สมัยก่อนวัสดุที่ใช้มาจากไม้ แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นเหล็ก  รูปแบบสมอของเรือจำลองที่กล่าวถึงใน beginning of model ship เป็นสมอเรือที่เป็นรูปแบบมาตรฐานใช้กันในศตวรรษที่ 18-19 ลองเอาไปทำกันดูครับจะทำให้ เรือจำลองที่สร้างดูสมจริงมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

Grating-ตะแกรงพื้นเรือ

วันอาทิตย์ที่ผ่านมามีเวลาว่างเลยลงมือทำ Grating หรือ ตะแกรงพื้นเรือ ผมลองหาข้อมูลของเจ้าสิ่งนี้แล้วยังหารายละเอียดไม่ได้แต่เดาเอาว่าคงใช้ระบายอากาศให้ลูกเรือที่อยู่ด้านล่าง และน่าจะเป็นช่องทางขนของขึ้นและลงจากด้านบนลงด้านล่างหรือด้านล่างขึ้นข้างบน เรามาว่าถึงวิธีทำ Grating หรือ ตะแกรงพื้นเรือสำหรับเรือจำลอง( modelship )ของเรากันเลย
ขั้นตอนแรกผมใช้เศษไม้ที่ทีอยู่ตัดให้ได้ความกว้าง 0.5 ม.ม.ยาวพอสมควร ตัดซัก 10 ชิ้้น แล้วนำมาประกบกันทั้งหมด  จากนั้นใช้เลื่อยฉลุเลื่อยให้ระยะห่าง0.2-0.3 ม.ม. ตามรูปประกอบ                    

                                                                                                                                    






จากนั้นนำมาประกอบเข้าด้วยกัน ผมใช้รูปอธิบายจะง่ายกว่า เชิญชมครับ



                                                                                              



























ติดตั้ง Grating-ตะแกรงพื้นเรือ

















ติดตั้งGrating-ตะแกรงพื้นเรือบนเรือPINTA รอขั้นตอนต่อไป


















ในคราวต่อไปผมคาดว่าน่าจะเห็นความคืบหน้าที่มากกว่านี้ จะพยายามทำให้เป็นรูปเป็นร่างที่สมบูรณ์ในเร็ววัน อย่างที่บอกไว้แต่ต้น PINTA และ NINA ในรูปแบบของเรือจำลอง ( modelship)
จะเหมือนกันต่างกันตรงเสาเรือและใบเรือ กับส่วนประกอบเล็กๆน้อยๆครับ หวังว่าผู้ที่สนใจการต่อเรือจำลอง ( modelship) แบบพื้นฐาน คงนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างนะครับ  " ต่อไม่สวยแต่ได้สมาธิ" และฝึกให้เราอดทน รู้จักการวางแผน การแก้ปัญหา แค่นี้ก่อเกินพอแล้วครับ

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การต่อเรือจำลอง( คายัค2)

ตอนที่2ซึ่งจะเขียนให้จบเรื่องการต่อคายัค หลังจากที่ผมวางกระดูกงูเรียบร้อยแล้ว เราก็ใช้ไม้ดัดตามรูปร่างที่เราได้กำหนดไว้เพื่อยึดตัวเรือให้แข็งแรงและใช้เป็นที่รองรับเวลาเราปูกระดานด้านข้างเรือ









ต่อจากนี้ขอเล่าด้วยภาพครับ

















สีม่วงที่เห็นบนตัวเรือคือสีโป๊วรถยนต์ใช้เพื่อ
อุดรอยแตกและรูต่างๆบนเนื้อไม้






























ขอบนอกใช้สายไฟหุ้มเพื่อให้เป็นสันนูน
เหมือนเรือจริง















ใช้เศษหนังทำพนักพิงและที่นั่ง





















ขั้นตอนสุดท้ายทำสี ในรูปยังไม่เก็บรายละเอียด














ในภาพทำสีจะเหลือจุดที่เป็นลายไม้อยู่2 จุด ผมคิดว่าจะปล่อยไว้เฉยๆให้มันตัดกับสีแดง แล้วค่อยลงแลกเกอร์ทับอีกรอบ  ลองทำดูครับใช้เวลาไม่นานก็ได้ของประดับห้องเท่ห์ๆแล้วครับ  ถ้าอยากเพิ่มอูปกรณ์ให้ครบถ้วน ก็เพิ่มไม้พายเข้าไปครับ ขอให้สนุกกับงานครับ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การต่อเรือจำลอง( คายัค1)

สวัสดีครับหลังจากต่อเรือจำลองNINA แล้ว บทสุดท้ายคือบทความที่๗ บางท่านอยากรู้ว่าแล้วเรือต่อเฉพาะ body แล้วเสาเรือ,ใบเรือ ฯลฯจะทำต่อยังไง  ผมเคยให้ลิงค์ไว้ท่านสามารถเข้าไปอ่านทำความเข้าใจได้ ซึ่งการทำbodyที่ยากถ้าท่านทำได้แล้วอย่างอื่นไม่ยากแล้วครับ แต่ถ้าอยากให้ลงรายละเอียดเอาไว้ผมจะเขียนแยกเป็นส่วนๆเช่นการทำรอกทดแรง( standard type pulley block),การทำเสาเรือ( mast ),การทำใบเรือ (sail ),การทำ deadeyes, และส่วนประกอบอื่นๆเท่าที่ผมจะทำได้ วันนี้มีของใหม่มาโม้ครับ "kayak"ครับ หลังสงกรานต์ ผมมาคิดดูว่าเรืออะไรที่ต่อง่าย  รวดเร็ว  สวยงาม ผมก็นึกถึง kayak กับ แคนู ( canoe ) ไม่ใช่ว่าจะหลงแต่ของนอกนะครับแต่เรือไทยมีคนต่อมากแล้วซึ่งท่านสามารถหาอ่านได้ง่ายและใกล้ตัว ถือเสียว่าเป็นทางเลือกแล้วกันครับ  เริ่มต้นเลย
ขั้นตอนที่1 จากรูปผมใช้ไม้ยาว 1 ฟุตทำKeel ( กระดูกงู ) ไม้ท่อนสั้น 3.5 ซ.ม.และ 3 ซ.ม.ทำหัวและท้ายเรือ


จากนั้นผมก็เริ่มร่างbulwark ( ช่องกั้น )ขึ้นมา 3 ชิ้นแล้วนำมาประกอบกับกระดูกงูที่เตรียมไว้
เอาละครับวันนี้แค่นี้ก่อนแล้วเรามาต่อตอนที่2กันวันหลังครับ

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

modelship NINA 7

เมื่อเราติดกระดานเรือ( planking )เรียบร้อยดีแล้ว ตรวจดูความเรียบร้อยตรงไหนที่เป็นช่องห่าง หรือผิวหน้ากระดานไม่เรียบร้อยก็ใช้กระดาษทรายขัดให้เสมอกัน  มาถึงตรงนี้ผมมีวิธีที่ใช้ในการอุดช่องห่างต่างๆลองเอาไปใช้ดูนะครับ  คิดว่าคนที่ทำโมเดลคงรู้จักกันดี มันคือ พุตตี้ครับ ผมเลือกใช้สีโป๊วรถยนต์ที่มีสองส่วนมาผสมกัน จากนั้นก็นำมาอุดช่องห่างรอเวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมงหรือทิ้งไว้ซักวันก็จะดีมาก จากนั้นใช้กระดาษทรายขัดไล่ตั้งแต่เบอร์หยาบไปจนถึงเบอร์ละเอียดอีกครั้ง  หลังจากจบขั้นตอนนี้แล้วก็จะเป็นขั้นตอนทำสี ดังรูป E
                                                                       
                                                                      รูป E

                                                                                                             

ในรูปที่แสดงผมทำเรือ 2 ลำในเวลาไล่เลี่ยกัน ลำที่ทำสีแล้วชื่อ PINTA ครับ ถ้ายังจำได้ในบทที่ผ่านมาผมเคยบอกแล้วว่าเรือทั้ง2 ลำมีส่วนของ ตัวเรือที่เหมือนกัน  ขั้นตอนต่อไปเราก็ปูกระดานเรือ ทั้งหมดขัดแต่งให้สวยงามด้วยนะครับ รูป F

รูป F

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

modelship NINA 6

ต่อจากวันที่2 มี.ค. ในขณะที่เรายึดGarboad ผมมีเทคนิคที่ได้จากเว็ปเมืองนอกคือเราจะต้องพยายามให้ปลายไม้กระดานทางหัวเรือขนานไปกับกระดูกงูมากที่สุด เพราะถ้ามันเชิดขึ้นจะทำให้การติดกระดานแผ่นต่อไปยากขึ้นและปลายกระดานจะไปรวมกันเป็นกระจุกทำให้ไม่สวยและที่สำคัญแก้ไขยากครับ ในรูปA.1แสดงการยึดกระดานโดยใช้สว่านดอกเล็กเจาะนำร่องหลังจากนั้นใช้ไม้จิ้มฟันแทนการตอกลูก สลัก                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                  รูปA.1


  รูปA.2 แสดงการยึดปลายกระดานกับร่องบากทางหัวเรือ









                                                                 รูป A.2
                                                                                                                 
                                                       

เมื่อเรายึดGarboad แล้วต่อไปก็ยึดกระดานแผ่นต่อไปตามช่องที่เรากำหนดมัน อาจจะมีบางช่องที่กระดานอาจไม่พอดีกับช่องเราจะใช้เทคนิคการลดขนาดของplanking เรียกว่า Drop Plank และ Stealersจากรูป BและC เป็นเทคนิค Stealer ครับ

                                                                            รูป B


รูป C
รายละเอียดท่านสามารถหาอ่านจากwww.drydockmodels.com/planking/ หลังจากเรายึดกระดานเสร็จทั้งสองด้าน เราจะขัดมันด้วยกระดาษทราย ไล่ตั้งแต่เบอร์หยาบไปหาเบอร์ที่ละเอียด จะได้ผลงานดังรูป  D
                                                                                  รูป D